top of page

Software ERP

erp-page.png
  • ช่วยวิเคราะห์ปริมาณเหมาะสมของสินค้าแต่ละชนิด

  • ปริมาณสินค้าที่ควรจะจัดเก็บ

  • ปริมาณที่ควรสั่งซื้อ หรือปริมาณที่ควรจะเติม

  • ควบคุม Document Flow ตั้งแต่การขอซื้อ ,สั่งซื้อ,การรับสินค้า,การส่งคืน,การขายสินค้า,การรับคืน เอกสารเกี่ยวข้องอื่นของสินค้า

  • เอกสารทางการเงิน

  • เอกสารทางบัญชีและอื่น ๆ

  • เชื่อมโยงถึงระบบต่าง ๆ ทั้งลูกหนี้ เจ้าหนี้  การเงิน ภาษี และบัญชีโดยอัตโนมัติ

  • ระบบวิเคราะห์การตลาดขั้นสูง (Business Intelligence)

  • ระบบสำหรับผู้บริหารในการสอบถามข้อมูล

  • วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบสรุปและกราฟ (Performance Dashboard

1. ระบบบัญชีและการเงิน (Financial Accounting)

        ทำหน้าที่วิเคราะห์ควบคุม และบริหารงานบัญชีได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังทำให้ข้อมูลทางบัญชีต่าง ๆ ได้รับการปรับให้ถูกต้องตามรายการที่เกิดขึ้น และช่วยให้ผู้บริหารสามารถติดตามผลการดำเนินงานได้ตลอดเวลา 

2. ระบบบัญชีทรัพย์สินถาวร (Asset Management)

ระบบบัญชีทรัพย์สินถาวรจะเชื่อมโยงกับระบบบัญชีแยกประเภททั่วไปสำหรับทุก ๆ รายการทางบัญชีที่เกิดขึ้น

3. ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Administration)

คัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน ช่วยในการค้นหาและเลือกพนักงานที่เหมาะสมกับงานตามความเชี่ยวชาญของบุคคลากร สร้างมาตรฐานในการวัดผลการปฏิบัติงาน 

4. ระบบจัดซื้อจัดหาและบริหารสินค้าคงคลัง (Purchasing and Inventory Management)

ระบบนี้ประกอบด้วย ระบบย่อยเพื่อรองรับกระบวนการทำงานของผู้ใช้งาน ที่แตกต่างกันได้ดังนี้

  • จัดทำใบสั่งซื้อ การรับสินค้าและการจัดการเรื่องใบแจ้งหนี้ เพื่อส่งไปประมวลผลในระบบบัญชีเจ้าหนี้

  • ะบันทึกรายการทางบัญชีโดยอัตโนมัติที่ระบบบัญชีการเงิน (Financial Accounting) เมื่อมีการทำรายการรับเข้า เบิกจ่าย โอนย้ายระหว่างคลัง เป็นต้น

 

5. ระบบการบริหารคลังสินค้า (Warehouse Management)

การจัดซื้อจัดจ้างทางธุรกิจ รูปแบบการทำธุรกิจแบบนี้จะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้เกิดตลาดที่ผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก ผู้ซื้อได้รับประโยชน์ในการหาผู้ขายที่สามารถให้ราคาและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับองค์กร 

 

6. ระบบการบำรุงรักษา (Plant Maintenance)

ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยครอบคลุมถึงการปฏิบัติงาน ตั้งแต่การกำหนดตารางการบำรุงรักษา รายละเอียดงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนทรัพยากรที่ต้องใช้

 

7. ระบบบริหารการผลิต (Production Planning)

ระบบนี้รองรับการบริหารการผลิต โดยแยกเป็นกระบวนการย่อยได้ดังนี้

  • การวางแผนการบริหารการผลิต (Production Planning)

  • การผลิตผ่านใบสั่งผลิต (Production Order)

  • การผลิตแบบต่อเนื่อง (Repetitive Manufacturing)

  • ระบบบริหารการขายและการกระจายสินค้า(Sales and Distribution)

  • ระบบจัดซื้อจัดหาและบริหารสินค้าคงคลัง(Purchasing and Inventory Management)

  • ระบบบัญชีศูนย์ต้นทุน / ศูนย์กำไร(Cost Center Accounting)

8. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System)

(Data Warehouse)  การจัดทำรายงานข้อมูลสารสนเทศสำหรับผู้บริหารตามระยะเวลาที่กำหนด ด้วยการใช้ข้อมูลจากระบบ ERP และอนุญาตให้ผู้บริหารวิเคราะห์ข้อมูลข้ามสายงานที่ซับซ้อน รวมทั้งสนับสนุนวิธีการและเทคนิคการการจัดการกลยุทธ์ เช่น Activity Based and Management , Value Based Management and Balanced Scorecards

9. ระบบการบริหารโครงการ (Project Management)

งานโครงการก่อสร้างหรืองานบำรุงรักษาแบบป้องกัน ระบบบริหารโครงการประกอบด้วยฟังก์ชั่นงานหลักดังนี้

  • สามารถจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ของงานหรือโครงการ เช่น วันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุด ในลักษณะ Graphic หรือ Gantt chart ได้ด้วย

  • การจัดการงบประมาณโครงการ (Project Budgeting) เป็นส่วนงานที่ช่วยควบคุมงบประมาณในแต่ละโครงการ โดยสามารถจัดเก็บงบประมาณของโครงการในแต่ละปี ระบบจะมีส่วนช่วยในการจัดตั้งและติดตามงบประมาณ

  • การวางแผนโครงการและกำหนดตารางการทำงาน (Project Planning & Scheduling)

  • การจัดเก็บและจัดสรรค่าใช้จ่าย (Project Settlement) เป็นระบบที่รองรับการจัดเก็บข้อมูลด้านการเงิน โดยสามารถบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละงาน (Work Breakdown Settlement) และสามารถอ้างอิงกับเอกสารบันทึกค่าใช้จ่าย ในระบบบัญชีและการเงิน (Financial Accounting) เพื่อทำการตรวจสอบได้

 

10. ระบบบริหารการเงิน (Treasury)

เป็นระบบที่สามารถรองรับการวางแผนการเงินให้สอดคล้องกับงานโครงการต่าง ๆ ทั้งด้านรายรับรายจ่าย เพื่อทราบสถานการไหลของเงินเข้าและออก การจัดหาแหล่งของเงินมารองรับโครงการต่าง ๆ ที่จัดให้มีขึ้น รวมทั้งแผน การจ่ายชำระหนี้ตามงวดที่ถึงกำหนด ตามสกุลองค์กร ได้หลายสถานการณ์ตามเงื่อนไขขององค์กร ซึ่งจะประกอบด้วยระบบงานย่อย ดังต่อไปนี้

  • ระบบบริหารเงินสด (Cash Management) สามารถประมาณการรับ / จ่ายเงิน สำหรับในช่วงระยะเวลาที่ต้องการ รวมทั้งสามารถรองรับการกระทบยอดกับธนาคารได้

  • ระบบงบประมาณและการบริหารกองทุน (Budgeting & Fund Management) สามารถกำหนด โครงสร้างของงบประมาณ การแบ่งประเภทของงบประมาณ การสรุปผลต่างของงบประมาณและยอดที่ใช้จริง สามารถควบคุมการจ่ายเงินตามแหล่งของเงินทุน ตามงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ

 

Providing a Complete Suite of IT Solutions

IT Services

bottom of page